วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบบทที่3

1.     ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก
        ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
        ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11

2.     พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
        ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C

3.     ธาตุ Li ทำปฏิกิริยากับธาตุ ในสารประกอบ ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำรุนแรงในสารละลายเป็นเบส เลขออกซิเดชันของ ในสารประกอบ มีค่าเป็น -1 สารประกอบ คืออะไร
        ก. Li2O          ข. Li3N           ค. LiH         ง. LiCl

4.     การที่ธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดสารประกอบได้หลายอย่าง เพราะ
        ก. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมาก                        ข. เป็นโลหะที่จัดไว้เป็นกลุ่มพิเศษ
        ค. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า                  ง. พลังงานไอออไนเซชันลำดับ 1-3 มีค่าต่ำ

5.     สารประกอบต่อไปนี้ข้อใดมีสี
        ก. K2SO4 , MnCl2                                        ข. K2Cr2O, Fe(OH)3
        ค. Cl2O , Co(NO3)2                                     ง. Ni(NH3)2+6 , RbCl

6.    สิ่งที่เหมือนกันในระหว่างธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในหมู่เดียวกันในตารางธาตุ คือ
ก.       มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เท่ากัน
ข.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนเหมือนกัน
ค.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของระดับพลังงานชั้นนอกสุดเหมือนกัน
ง.       มีขนาดใกล้เคียงกันมาก

7.    สารประกอบคลอไรด์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด คือ
       ก. NaCl                                                    ข. CaCl2
       ค. NCl3                                                     ง. LiCl

8.     เลขออกซิเดชันของซีนอนในสารประกอบใดมีค่าสูงที่สุด
        ก. Na4XeO6                      ข. XeOF4               ค. H6XeO6                  ง. XeF4

9.    ถ้าอะตอมของอาร์เซนิกได้รับ 3 อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น จะได้อนุภาคที่มีการจัดอิเล็กตรอน เหมือนกับอะไร
       ก. อาร์กอน                                              ข. โบนมีน
       ค. คลิปตอน                                            ง. อันติโมนี

กำหนดเลขอะตอมของธาตุดังนี้
10.    ธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดและไอออนที่มีขนาดเล็กที่สุดตามลำดับ ที่ถูกต้องควรเป็นข้อใด
         ก.   C,A2+                           . A,B+                   ค. B,C                         . C,B+

11.    ในกรณีที่พบว่ามีโลหะโซเดียมเหลือใช้จากปฏิกิริยา เมื่อต้องการจะทำลายโลหะโซเดียมให้เป็นสารประกอบที่เฉื่อยลง ท่านควรจะเติมสารใดต่อไปนี้
         ก. น้ำบริสุทธ์                                          ข. น้ำผสมกรดเล็กน้อย
         ค. เอธานอล                                            ง. เฮกเซน

12.    ธาตุใดต่อไปนี้มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด
         ก. F2                                                        . O2
         ค. Na                                                      ง. Cl2

13.    สาร เป็นธาตุมีสมบัตินำไฟฟ้าได้ ทั้งซัลไฟด์และคลอไรด์ของ เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ สาร ควรเป็นธาตุใด
         ก. Ca                                  ข. N                         ค. C                          ง. Sn

14.    เมื่อนำ CaO ไปละลายน้ำ จะได้สารใดเป็นผลิตภัณฑ์
         ก. CaOH                           ข. H2                         ค. Ca(OH)2                 ง. O2

15.    ข้อใดเป็นประโยชน์ของสารประกอบคลอไรด์
         ก. ใช้ฆ่าเชื่อโรค                                     ข. ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกสี
         ค. ใช้เป็นตัวทำละลาย                            ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

16.    ธาตุที่เป็นกาซชนิดหนึ่งมีจุดหลอมเหลว  และจุดเดือดต่ำมาก ไม่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนและออกซิเจน ธาตุนี้ควรจะอยู่รวมกลุ่มกับธาตุใด
         ก. โลหะ                                                 ข. อโลหะ
         ค. กึ่งโลหะ                                             ง. ธาตุมีตระกูล

17.    แร่แคสซิเทอไรต์ มีสูตรเคมีอย่างไร
         ก. SiO2                                                  ข.Fe2O3
         ค. SnO2                                                 ง. ZnS

18.    ธาตุในกลุ่มใดที่ประกอบด้วยธาตุแทรนซิชันทั้งหมด
         ก. Fe  Si  Sb  Rb                                    ข. Fe  Al  Cu  Fr
         ค. Fe  Co  Te  AT                                  ง. Fe  Cu  Cr  Mn

19.    ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
              1. รังสรแอลฟา มีสัญลักษณ์เขียนแทนเป็น 42He
              2. รังสีบีตามีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก
              3. รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวสั้นมาก ไม่มีประจุและมวล
         ก. ข้อ 1. และ 2     ข. ข้อ 2 และ 3   ค. ข้อ 1 และ 3        ง. ข้อ 1,2 และ 3
  
20.    จากปฏิกิริยาต่อไปนี้
X,Y และ คืออนุภาคใดตามลำดับ
 
21.    ข้อใดเกี่ยวกับรังสีแอลฟา
         ก. ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านกระดาษหรือโลหะบาง ๆ ได้
         ข. ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอย่างละสองอย่าง
         ค. เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้าจะเบี่ยงเบนไปทางขั้วบวก
         ง. วิ่งผ่านอากาศอาจทำให้อากาศแตกตัวเป็นไอออนได้

22.    ชนิดของการแผ่รังสีต่อไปนี้ รังสีใดไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก
        ก. รังสี-                         ข. รังสีแกมมา              ค. รังสีบีตา                ง. นิวตรอน

23.    กระบวนการใดที่มีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย
        ก. การแผ่รังสรแอลฟา                                          ข. การแผ่รังสีบีตา     
        ค. การแผ่รังสีแกมมา                                            ง. การแผ่รังสีโปซิตรอน

24.   ไอโซโทปกัมมันตรังสีมีอัตราการสลายตัวภายหลัง 96 นาที เหลือเพียงหนึ่งส่วนแปดของมัน เดิมที่มีอยู่ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีมีค่าเท่าไร
        ก. 12.0 นาที                       ข. 24.0 นาที                ค. 32.0 นาที              ง. 48.0  นาที
25.   ธาตุกัมมันตรังสีใดที่ใช้ในการคำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ คือ
        ก. I-131
        ข. Co-60
        ค. C-14
        ง. P-32
26.    ปฏิกิริยาลูกโซ่นี้ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงเรียกว่าอะไร
         ก. ลูกระเบิดปรมาณู      ข. ระเบิดลูกโซ่              ค. ระเบิดนิวเคลียร์     ง. ถูกทุกข้อ

27.    ธาตุกัมมันตภาพรังสี Co – 60 นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายยกเว้นข้อใด
         ก. รักษาโรคมะเร็ง                                                          ใช้ในการถนอมอาหาร
         คกำจัดวัชพืช                                                                 งการหาอายุวัตถุโบราณ

28.    การใช้ไอโซโทปของธาตุกัมมันตภาพรังสีตรวจหา รอยรั่ว รอยตำหนิ ของโลหะเป็นการใช้ประโยชน์ทางด้านใด
         กอุตสาหกรรม                                                               ธรณีวิยา
         คการแพทย์                                                                    การขนส่ง

29.    วิธีการตรวจสอบธาตุกัมมันตรังสีวิธีใดที่ปลอดภัยและได้ผลแม่นยำที่สุด
          กใช้ฟิลม์หุ้มสารที่ตรวจสอบ                                      ขใช้สารเรืองแสงตรวจสอบ
          คใช้เครื่องมือไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์                  งหลอดรังสีแคโทด

30.    ธาตุกัมมันตรังสีนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางยกเว้นข้อใด
         กด้านการแพทย์                                                              ขด้านเกษตรกรรม
         คด้านอุตสาหกรรม                                                         งด้านบันเทิง

คำชี้แจง ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ  31-33
 
31.    สมบัติของธาตุ I และ ข้อใดถูกต้อง
         ก. ธาตุ มีคาพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าธาตุ     ข. ขนาดไอออนของธาตุ ใหญ่กว่าของ G
         ค. ธาตุ มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมากกว่าตุ G              ง. ธาตุ มีจุดเดือดมากกว่าธาตุ G
  
32.    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 และ 3
         ก. คลอไรด์ของ ละลายน้ำได้ สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด
         ข. คลอไรด์ของ เกิดได้มากกว่า 1 ชนิด ส่วนคลอไรด์ของ เกิดได้เพียงชนิดเดียว
         ค. ออกไซด์ของ มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าออกไซด์ของ G
         ง. ออกไซด์ของ ไม่ละลายน้ำ

33.    จากการศึกษาสมบัติของธาตุ เป็นดังนี้
             1. เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
             2. ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนได้ออกไซด์เป็นผงขาว ละลายน้ำน้อย
             3. ออกไซด์ของ ทำปฏิกิริยาได้ทั้งกรดและเบส
         ธาตุ ควรเป็นธาตุใด
         ก. J                                 ข. C                                 ค. K                            ง. A

34.    เมื่อนำสารประกอบ ไปเผาบรรยากาศของออกซิเจนพบว่าได้สารประกอบออกไซด์ 3 ชนิด  ออกไซด์ชนิดแรก ทำให้น้ำปูนใสขุ่น ออกไซด์ชนิดที่สอง ทำให้ผลึกสีขาวของ CuSO4 กลายเป็นสีฟ้า และออกไซด์ชนิดที่สามเมื่อละลายน้ำได้สารละลาย pH = 9 สารประกอบ  X ควรประกอบด้วย ธาตุใดบ้าง
          ก. C,H,Na                     ข. C,S,O                           ค. C,H,S                    ง. C,H,N

35.    ธาตุ อยู่ในหมู่ที่ 7A คาบที่ 5 มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนและเลขอะตอมอย่างไร
         ก. 2, 8, 8, 18, 7 เลขอะตอม 43                                ข. 2, 8, 18, 18, 7 เลขอะตอม 53
         ค. 2, 8, 8, 32, 7  เลขอะตอม 57                               ง. 2, 8, 18, 32, 7 เลขอะตอม 67

36.    ธาตุอะลูมิเนียมพบมากในที่ใด
         ก.ชั้นเปลือกโลก                                          ข.ชั้นเนื้อโลก
         ค.ที่ราบสูง                                                                   ง.ถูกทุกข้อ

37.    ข้อใดคือประโยชน์ของอะลูมิเนียมทั้งหมด
         ก. ชิ้นส่วนของเครื่องบิน กลอนประตู หน้าต่าง     ข. สายยาง เชือก
         ค. กุญแก ไขขวง                                                            ง.ไม่มีข้อถูก

38.    ถ้าผลไม้ขาดธาตุแคลเซียมบริเวณขั้วหรือข้อต่อจะทำให้เกิดแก๊สอะไร
         ก. แก๊สออกซิเจน            ข. แก๊สเอทีลีน           ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์   ง. ไม่มีข้อถูก

39.    ธาตุแคลเซียมในดินที่มีค่าความเป็นกรด-เบส อยู่ระหว่างข้อใด
         ก. 4.0-7.0                       ข. 3.0-7.0                         ค. 4.0-7.5                  ง. 3.0-7.5

40.    โครเมียมมีลักษณะอย่างไร
          ก. โลหะสีขาวเงินเป็นมันวาว
          ข. โลหะสีขาวเงินไม่เป็นมันวาว
          ค. อโลหะสีขาวเงินเป็นมันวาว
          ง. อโลหะสีเงินไม่เป็นมันวาว

41.    ข้อใดคือประโยชน์ของโครเมียม
         ก.ใช้เป็นส่วนผสมในเหล็ก
         ข. ทำเครื่องมือผ่าตัด
         ค. เกราะกันกระสุน
         ง. ถูกทุกข้อ

42.   ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
          ก. เหล็กเป็นโลหะแทรนซิชันที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ
          ข. เหล็กบริสุทธิ์มีสีเทาเป็นมันวาว
          ค. เป็นสนิมได้ยาก
          ง. ถูกทุกข้อ


43.    ชนิดของเหล็กมีอะไรบ้าง
         ก. เหล็กหนัก เหล็กเบา                                            ข. เหล็กบริสุทธิ์ เหล็กกล้า เหล็กเหนียว
         ค. เหล็กกล้า เหล็กเปราะ                                          ง. เหล็กยืดหยุ่น เหล็กหนา

44.    ในทะเลมีธาตุไอโอดีนประมาณเท่าไร
          ก. 0.06 ppm                                                            ข. 10.0  ppm
          ค. 0.05 ppm                                                            ง.  20.0   ppm

45.     โซเดียมไอโอเดต , แคลเซียมไอโอเดตมีสูตรว่าอย่างไร
           ก. (NaO3),(Ca(IO3)2)                                             ข. H2O       
           ค. CO2                                                                         ง. Al2F4

46.     ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ ของ ธาตุไนโตรเจน
   ก. ทำปุ๋ย                                                                 ข. สารอาหารของสิ่งมีชีวิต
   ค. แช่แข็งอาหารประเภทต่าง ๆ                             ง. ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

47.     ไนโตรเจน ในสารประกอบ พบในที่ใด
   ก. อะมิโนโปรตีน                                                   ข. น้ำตาลโมเลกุลใหญ่
   ค. ในอากาศ                                                             ง. ถูกทุกข้อ

48.    ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ ออกซิเจน
           ก. ออกซิเจนไม่สามารถถูกทำละลายได้
           ข. ออกซิเจนนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
           ค. ออกซิเจนไม่สามารถพบในสารประกอบได้
           ง. ออกซิเจนพบมากที่สุดในธรรมชาติ

49.     ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของออกซิเจน
          ก. ใช้ในการทำเชื้อเพลิงจรวด
          ข. ใช้เชื่อมหรือตัดโลหะ
           ค. ใช้ในการเกษตร
           ง. ใช้ในการเผาผลาญอาหาร

50.     ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับฟอสฟอรัส
           ก. ธาตุฟอสฟอรัสเป็นธาตุอิสระ                      ข. ฟอสฟอรัส คือ ธาตุหมู่เดียวกับ ไนโตรเจน
           ค. ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะ                                 ง. สามารถพบฟอสฟอรัสในไข่แดง

51.     ฟอสฟอรัสชนิดใด นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
          ก. ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสแดง                                     ข. ฟอสฟอรัสดำ
          ค. ฟอสฟอรัสแดง                                                              ง. ฟอสฟอรัสขาว

52.     ธาตุซิลิกอนยึดเหนี่ยมกันด้วยพันธะอะไร
          ก. โครงร่างตาข่าย
          ข. พันธะไอออนิก
          ค. พันธะโลหะ
          ง. พันธะโควาเลนส์

53.     ประโยชน์ของซิลิกา
          ก. ทำเส้นใยแก้ว,เส้นใยนำแสง
         ข. ใช้ทำระเบิด,ทำไม้ขีดไฟ
          ค. ทำกระป๋องบรรจุอาหาร
          ง. ทำตู้นิรภัย,เครื่องยนต์

54.     ข้อใดคือประโยชน์ของสังกะสี
           ก. ชุบโลหะเพื่อป้องกันสนิม
          ข. ใช้ผลิตยางรถยนต์
           ค. เป็นสารที่ประกอบในหลอดไฟฟูออเรสเซ็น
           ง. ใช้ผลิตท่อน้ำ

55.     ข้อใดถูกต้อง
           ก. ธาตุเรเดียมไม่นำไฟฟ้า
          ข. ธาตุเรเดียมเป็นธาตุกำมันตรังสี
          ค. มีไอโซโทปที่เสถียร
          ง. รังสีแกมมาที่ได้จากการสลายตัวของเรเดียมเป็นตัวการทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต

                          เฉลยข้อสอบ

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ก๊าซโอโซน

ก๊าซโอโซน คืออะไร..

เป็นที่ทราบกันมาช้านานแล้ว ว่าโอโซนเป็นก๊าซที่ถือกำเนิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ เช่นจาก ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งเราจะสังเกตุได้ง่ายๆว่า หลังจากที่ฝนตก อากาศจะสดชื่นขึ้น มลพิษในอากาศจะลดลง เป็นผลสืบเนื่องมาจากมีปริมาณโอโซนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

ในปัจจุบัน การจราจรที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้มีปัญหามลพิษในอากาศที่สูงฃึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฯลฯ รวมไปถึงเชื้อโรค และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ มลพิษเหล่านี้สามารถเล็ดรอดเข้ามาในรถคุณได้อย่างง่ายดาย และสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งปริมาณอ๊อกซิเจนในรถคุณก็ลดลน้อยลงเรื่อยๆเช่นกันสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ขับขี่ เกิดอาการง่วงซึม เหนื่อยง่าย มึนศรีษะ ภูมิแพ้ ฯลฯ และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในที่สุด

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

                 นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุและสมบัติของธาตุต่างๆ มาแล้ว ต่อไปนี้จะศึกษาธาตุและสารประกอบของธาตุที่สำคัญบางชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืช พร้อมทั้งศึกษาถึงผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

3.8.1  ธาตุอะลูมิเนียม

                 อะลูมิเนียมพบมาในเปลือกโลกประมาณ  7.5% โดยมวล รูปของสารประกอบ เช่น บอกไซต์ ไครโอไลต์โลหะอะลูมิเนียมเตรียมได้จากการหลอมเหลวแร่บอกไซต์แล้วแยกด้วยกระแสไฟฟ้าจะได้โลหะอะลูมิเนียมที่แคโทด โลหะอะลูมิเนียมมีสีเงิน มีความหนาแน่นต่ำ เหนียวและแข็ง ดัดโค้งงอได้ ทุบให้เป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก
สารประกอบออกไซด์ของอะลูมิเนียมคือมีจุดหลอมเหลวสูงมาก ทนความร้อนสูง ละลายได้ทั้งในกรดและเบส ออกไซด์ที่เกิดในธรรมชาติเรียกว่า คอรันดัม อ่านเพิ่มเติม

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

                  การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาวิธีการประมาณตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุและการทำนายสมบัติของธาตุเมื่อรู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุดังต่อไปนี้

การทดลอง 3.5  การศึกษาสมบัติของธาตุเพื่อหาตำแหน่งในตารางธาตุ
1.  สังเกตลักษณะภายนอกของธาตุตัวอย่าง 2 ธาตุที่อยู่ในหลอดทดลองหมายเลข 1 และ 2 ตามลำดับและทดสอบการนำไฟฟ้าของธาตุทั้งสอง
2.  วางแผนและออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมบัติของธาตุทั้งสองในเรื่องความเปราะ การทำปฏิกิริยากับน้ำ การเผาไหม้ การทำปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีน และทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายที่เกิดขึ้น เสนอแนะให้ใช้ปริมาณธาตุตัวอย่างขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ อ่านเพิ่มเติม


ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี

ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี

            ครึ่งชีวิตของธาตุ (half life) หมายถึง ระยะเวลาที่สารสลายตัวไปจนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมใช้สัญลักษณ์เป็น t1/2 นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่เสถียร จะสลายตัวและแผ่รังสีได้เองตลอดเวลาโดยไม่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิหรือความดัน อัตราการสลายตัว เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนอนุภาคในธาตุกัมมันตรังสีนั้น ปริมาณการสลายตัวจะบอกเป็นครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป

ตัวอย่างเช่น C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี หมายความว่า ถ้ามี C-14 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลือ C-14 อยู่ 0.5 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ กล่าวได้ว่าทุกๆ 5730 ปี จะเหลือ C-14 เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม
               ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป และสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้ ตัวย่างครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีบางชนิด ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีชนิดต่างๆมีค่าไม่เท่ากัน เช่น เทคนีเทียม -99 มีครึ่งชีวิต 6 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนยูเรเนียม -235 มีครึ่งชีวิต 4.5 ล้านปี อ่านเพิ่มเติม


ธาตุกัมมันตรังสี


ธาตุกัมมันตรังสี

                  
        ธาตุอีกกลุ่มหนึ่งในตารางธาตุซึ่งมีสมบัติแตกต่างจากธาตุที่เคยศึกษามาแล้ว กล่าวคือสามารถแผ่รังสีแล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
                  ในปี ค.ศ. 1896 (พ.ศ.2439) อองตวน อองรีแบ็กเกอเรล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส พบว่าเมื่อเก็บแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำไว้กับสารประกอบของยูเรเนียม ฟิล์มจะมีลักษณะเหมือนถูกแสง และเมื่อทำการทดลองมีสารประกอบของยูเรเนียมชนิดอื่นๆ ก็ได้ผล เช่นเดียวกัน จึงสรุปว่าน่าจะมีรังสีแผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม
                ต่อมาปีแอร์ และมารี กูรี ได้ค้นพบว่าธาตุพอโลเนียมเรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกันปรากฎการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องเช่นนี้เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี เป็นการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของไอโซโทปที่ไม่เสถียร และเรียกธาตุที่มีสมบัติเช่นนี้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี ธาตุกัมมันตรังสีส่วนใหญ่มีเลขอะตอมสูงกว่า 83  แต่มีธาตุกัมมันตรังสีบางชนิดที่มีเลขอะตอมน้อยกว่า 83 เช่น{}^{43}Ptในธรรมชาติพบธาตุกัมมันตรังสีหลายชนิดเช่น{}^{238}U  {}^{235}U   {}^{232}Thและ{}^{222}Rnหรืออาจเขียน U-238  U-235   Th-232  และ Rn-222 ก็ได้ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังสังเคราะห์ธาตุกัมมันตรังสี อ่่านเพิ่มเตืม

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ
           ธาตุกึ่งโลหะ   คือธาตุที่มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะและสมบัติบางประการคล้ายอโลหะ   ในหัวข้อนี้จะศึกษาเปรียบเทียบธาตุโลหะกับกึ่งโลหะได้แก่ธาตุอะลูมีเนียม (Al) กับซิลิคอน (Si) ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายชนิด

           อะลูมิเนียม มีสีเทาเงิน มีความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักค่อยข้างเบาและแข็ง   นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี อะลูมิเนียในธรรมชาติมีอยู่ค่อนข้างมาก   แต่อยู่ในรูปของสารประกอบที่เรีกยว่า บอกไซด์  Al2O3.2H_2O และอะลูมิเนียมออกไซด์  Al2O3 หรือเรียกว่า คอรัมดัม
           บอกไซด์ ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำโลหะอะลูมิเนียมซึ่งมีประโยชน์มาก   ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องครัว และของใช้ในบ้าน ใช้ผสมกับโลหะอื่นๆ เพื่อทำเป็นส่วนประกอบในยานพาหนะต่างๆ เช่น เครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ และเรือ ใช้ทำเป้นแผ่ยบางๆ ใช้ห่ออาหาร เป็นต้น
           คอรันดัม เป็นค่าที่มีคุณภาพทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย   นำไปทำเป็นอัญมณีวึ่งมีสีต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะแทรนซิชันที่ปนอยู่ เช่น ถ้ามีโลหะโครเมียม จะมีสีแดง เรียกว่า ทับทิม ถ้ามีเหล็กและไทเทเนียมปนอยู่ จะมีสีน้ำเงิน เรียกว่า ไพลิน เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม